วันศุกร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2556

คำศัพท์เกี่ยวกับกฎหมาย


กฏหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ เรียกว่าอะไร
เราคงเรียนกันมาตั้งแต่ยังเยาว์ ก็รัฐธรรมนูญน่ะสิ
หรือ Constitution นั่นเอง
Songkung has never read the Constitution of Thailand. He read only the Constitution of

Canada.
สงคุงไม่เคยอ่านรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเลย อ่านแต่รัฐธรรมนูญของแคนาดา
Act หมายถึง พระราชบัญญัติ มาดูตัวอย่างประโยคกันครับ สมมติว่าสงคุงคุยกับบิมุ สงคุงพูดขึ้นมาว่า
I hate this Immigration Act. In Section 12, it is said that aliens who have not yet been

vaccinated against smallpox are excluded.
ฉันเกลียดพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองฉบับนี้จังเลย ในมาตรา 12 กล่าวว่าคนต่างด้าวผู้ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนฝีดาษจะถูกขับออกจากราชอาณาจักร
Why?
บิมุสงสัย จึงถามว่า ทำไมล่ะ
สงคุงตอบว่า
Because I am Myanmar who has smallpox.
ตูข้าเป็นชาวพม่าผู้เป็นฝีดาษอยู่น่ะสิ

อันที่จริง เราไม่ต้องกังวลเรื่องโรคฝีดาษอีกต่อไปแล้วนะครับ มันน่าจะหมดไปจากโลกแล้ว
เวลาเราจะอ่านกฏหมายใหม่ ๆ เราจะอ่านจากราชกิจจานุเบกษาครับ ภาษาอังกฤษเรียกว่า the Government Gazette วันหนึ่ง จินจังก็อวดน้องสาวตัวเองให้บิมุฟังว่า
My sister read the Government Gazette since she was four.
น้องสาวฉันนะ เธออ่านราชกิจจานุเบกษาตั้งแต่เธอมีอายุได้สี่ขวบแน่ะ
คำว่า read ในที่นี้ต้องอ่านว่า เรด นะครับ เพราะเป็นคำกริยาในรูปอดีต

ส่วน พระราชกฤษฎีกา ใช้ว่า Royal Decree
พระราชกำหนด ใช้ Emergency Decree
ตัวอย่างประโยคคือ
This Royal Decree is about taxes. Jinjang, you does not possess Thai nationality.
พระราชกฤษฎีกานี้เกี่ยวข้องกับภาษี จินจัง เธอไม่ได้เป็นคนไทยนะ (ดังนั้น ช่วยอ่านให้ดีและทำตามด้วยล่ะ)

อีกคำที่เรามักคุ้นเคยคือคำว่า มาตรา .. ทวิ มาตรา...ตรี เช่น มาตรา 50 ทวิ ใช้ภาษาอังกฤษว่า Section ... ตามด้วยเลขภาษาละติน ดังนี้
 bis สอง
 ter สาม
 quarter สี่
 quinque ห้า
 sex หก   septem เจ้ด    octo แปด    novem เก้า    decem สิบ   undecim สิบเอ้ด   duodecim สิบสอง tredecim สิบสาม

ตอบคำถามจากทางบ้านบ้างดีกว่าครับ คุณ Subhu เฟซบุ๊กมาถามว่า ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท แปลว่าอะไรดี  ตามความเห็นส่วนตัวนะครับ ใช้ว่า  Your Majesty
สำหรับวันนี้ สวัสดีครับ

วันพุธที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2556

The Four Villains of Decision Making


ผมอ่านหนังสือ Decisive: How to Make Better Choices in Life and Work ของ  Chip Heath กับ Dan Heath
และชอบมาก ๆ ครับ
ขออนุญาตทั้งสองคนนี้ นำเสนอบางช่วงบางตอนที่ผมประทับใจก็แล้วกันครับ หวังว่าคงไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์นะ
ชื่อตอน น่าสนใจครับ villain ซึ่งหมายถึง ตัวโกง ตัวร้าย
เช่น Jinjang is the villain of Bimu's life.
จินจังเป็นตัวร้ายในชีวิตของบิมุ
ชาวต่างประเทศมีสำนวนว่า the villain of the piece หมายถึง ตัวปัญหา
หนังสือเปิดประเด็นด้วยเรื่องที่น่าสนใจ
Villain แรกของการตัดสินใจ คือการที่เราโฟกัสบางสิ่งที่แคบจนเกินไป มุมมองที่แคบย่อมไม่เป็นผลดี
Narrow framing is the tendency to define our choices too narrowly and
to see them in binary terms. We ask, "Should I break up with my partner or not?"
instead of "What are the ways I could make this relationship better?" We ask ourselves,
"Should I buy a new car or not?" instead of "What's the best way I could spend some money to make my family better off?"
หนังสือเล่มนี้เขาบอกว่า การมีมุมมองคับแคบคือแนวโน้มที่จะนิยามตัวเลือกของเราให้จำกัดมาก ๆ มักจะเป็นข้อความแบบให้เลือก
เรามักถามว่า จะเลิกกับแฟนดีไหม แทนที่จะถามว่า จะทำอย่างไรให้สายสัมพันธ์ดีขึ้น
เราถามตนเองว่า จะซื้อรถใหม่ดีไหม แทนที่จะถามว่า จะใช้เงินเช่นไรดีให้ครอบครัวดีขึ้น

เราคงเคยเจอคำว่า binary จากคำเหล่านี้
binary search tree โครงสร้างข้อมูลชนิดหนึ่งในวิชาอัลกอริทึม
binary question คำถามสองตัวเลือก เช่น จะกินหรือไม่กิน
binary plan แผนการตลาดธุรกิจเครือข่ายแบบสองขา
ดังนั้น binary น่าจะหมายถึงสิ่งที่เกี่ยวกับสอง

แล้ว better ต่างจาก better off อย่างไร ผมว่ามันใกล้เคียงกันมาก ๆ ครับ ดูตัวอย่างประโยคกันครับ
It would be better off taking the MRT to Dhoby Ghaut instead of driving.
การไป Dhoby Ghaut ด้วยรถใต้ดิน(ที่สิงคโปร์) ดีกว่าการขับรถไปเองนะ
Bimu felt better off after the rise in AAPL's prices.
บิมุรู้สึกดีขึ้นมากเมื่อราคาหุ้นบริษัท Apple ขึ้น (ขอให้มันขึ้นจริง ๆ ด้วยเถิด)

หวังว่าเพื่อน ๆ คงไม่ติดอยู่ใน The first villain นะครับ สวัสดีครับ

จะเรียกเจ้านายว่าอะไรดี


เมื่อผมได้คุยกับผู้ที่ได้งานทำเป็นครั้งแรก (first jobber) เขาเหล่านี้กังวลว่าเมื่อร่วมงานกับเจ้านายที่เป้นชาวต่างชาติ จะแทนตัวเขาว่าอะไรดี
คำที่แย่ที่สุดที่ผมนึกถึงคือคำว่า boss ในความคิดผม คำว่า boss ไม่น่าฟังเอาเสียเลย
มีคนหวังดีเสนอกันเข้ามาอย่างล้นหลาม เช่น ถ้าสงคุงเป็นเจ้านายของจินจัง จินจังควรเรียกว่า
General Songkhung บ้างล่ะ  Captain Songkhung บ้างล่ะ   Chief หรือ Sir ไปโน่น
ประหนึ่งเราอยู่ในกองทัพก็ไม่ปาน
ถ้าคุณไม่ได้เป็นทหาร ลองดูตัวเลือกอื่นกันดีกว่าไหมครับ
คำว่า superior ก็น่าจะใช้แทนคำว่าเจ้านายได้
superintendent ฟังดูคล้าย ๆ กับคำว่า chief superintendent ซึ่งเป็นยศตำรวจระดับสูง
executive คำนี้ฟังดูดีนะครับ ใช้เรียกเจ้านายระดับผู้จัดการขึ้นไป
แล้วถ้าจะหมายถึงคำว่าลูกน้องล่ะ ผมขอเสนอคำว่า subordinate ครับ

ผมเป็นคนเรียบง่าย ดังนั้น คำว่า Mr(Mr.)นำหน้าชื่อผู้ชาย หรือ  Ms(Ms.)นำหน้าชื่อผู้หญิง  ไม่แนะนำให้ใช้  Mrs(Mrs.)อีกต่อไป
น่าจะใช้เรียกเจ้านายได้ดี กรณีนี้เราต้องการแสดงความเป็นมืออาชีพ
ถ้าเราคุยกันเองในที่ทำงาน เราอาจจะเรียกชื่อที่เขาอนุญาตให้เรียกได้ เช่น  Hi Jinjang! สวัสดีจ้ะ จินจัง
ความเป็นชาย หญิง ดูที่เพศตอนที่กำเนิดเป็นหลักนะครับ
หรือถ้าเจ้านายคุณ มียศถาบรรดาศักดิ์ ก็ควรใช้ในเอกสาร แต่เวลาคุยกัน ดูไม่ดีที่จะใช้
ถ้าสงคุงเดินมาบอกคุณว่า
I am Mr Songkhung.
มันก็ฟังดูทะแม่ง ๆ ใช่ไหมครับ ทำไมต้องเรียกชื่อตัวเองด้วยคำว่า Mr
ถ้าจินจังเป็นหมอ (ซึ่งคงยากแล้วล่ะในชาตินี้) ก็อาจจะใช้ว่า  Dr Jinjang (หรือจบปริญญาเอกก้เช่นกัน)
ถ้าเจ้านายคุณมีหลายยศซ้อน ๆ กัน ผมไม่แนะนำให้ต่อกันพะรุงพะรัง เลือกสักยศหนึ่งที่เจ้านายคุณชอบมาเรียกเขา
employer คำนี้ฟังดูกว้าง ๆ ดี นอกจากจะหมายถึงตัวบุคคล ยังหมายรวมถึงองค์กรได้ด้วย
ABC is my employer.
บริษัทเอบีซีจ้างฉัน
สุดท้ายนี้ ไม่ว่าคุรจะเรียกเขาว่าอะไร สิ่งสำคัญที่ทำให้ชีวิตในที่ทำงานราบรื่นคือสายสัมพันธ์ การให้เกียรติ การสื่อสารและความเข้าใจซึ่งกันและกัน คงไม่ดีแน่ถ้าต่อหน้าคุณเรียกเขาเสียดิบดี แต่ลับหลังคุณจวกแทงเจ้านายเสียยับ
เจ้านายเองก็ต้องปรับตัวเข้าหาลูกน้อง ทำตนให้เป็นแบบอย่าง ใช้เหตุผล มีความเป็นมนุษย์ และสื่อสารกับลูกน้องอย่างมีคุณภาพ ชัดเจน ถ้าทำได้ผมเชื่อว่าทุกคนที่ยังทำงานประจำอยู่คงจะมีความสุขอย่างแน่นอน สำหรับวันนี้ สวัสดีครับ