วันพุธที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2556

The Four Villains of Decision Making


ผมอ่านหนังสือ Decisive: How to Make Better Choices in Life and Work ของ  Chip Heath กับ Dan Heath
และชอบมาก ๆ ครับ
ขออนุญาตทั้งสองคนนี้ นำเสนอบางช่วงบางตอนที่ผมประทับใจก็แล้วกันครับ หวังว่าคงไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์นะ
ชื่อตอน น่าสนใจครับ villain ซึ่งหมายถึง ตัวโกง ตัวร้าย
เช่น Jinjang is the villain of Bimu's life.
จินจังเป็นตัวร้ายในชีวิตของบิมุ
ชาวต่างประเทศมีสำนวนว่า the villain of the piece หมายถึง ตัวปัญหา
หนังสือเปิดประเด็นด้วยเรื่องที่น่าสนใจ
Villain แรกของการตัดสินใจ คือการที่เราโฟกัสบางสิ่งที่แคบจนเกินไป มุมมองที่แคบย่อมไม่เป็นผลดี
Narrow framing is the tendency to define our choices too narrowly and
to see them in binary terms. We ask, "Should I break up with my partner or not?"
instead of "What are the ways I could make this relationship better?" We ask ourselves,
"Should I buy a new car or not?" instead of "What's the best way I could spend some money to make my family better off?"
หนังสือเล่มนี้เขาบอกว่า การมีมุมมองคับแคบคือแนวโน้มที่จะนิยามตัวเลือกของเราให้จำกัดมาก ๆ มักจะเป็นข้อความแบบให้เลือก
เรามักถามว่า จะเลิกกับแฟนดีไหม แทนที่จะถามว่า จะทำอย่างไรให้สายสัมพันธ์ดีขึ้น
เราถามตนเองว่า จะซื้อรถใหม่ดีไหม แทนที่จะถามว่า จะใช้เงินเช่นไรดีให้ครอบครัวดีขึ้น

เราคงเคยเจอคำว่า binary จากคำเหล่านี้
binary search tree โครงสร้างข้อมูลชนิดหนึ่งในวิชาอัลกอริทึม
binary question คำถามสองตัวเลือก เช่น จะกินหรือไม่กิน
binary plan แผนการตลาดธุรกิจเครือข่ายแบบสองขา
ดังนั้น binary น่าจะหมายถึงสิ่งที่เกี่ยวกับสอง

แล้ว better ต่างจาก better off อย่างไร ผมว่ามันใกล้เคียงกันมาก ๆ ครับ ดูตัวอย่างประโยคกันครับ
It would be better off taking the MRT to Dhoby Ghaut instead of driving.
การไป Dhoby Ghaut ด้วยรถใต้ดิน(ที่สิงคโปร์) ดีกว่าการขับรถไปเองนะ
Bimu felt better off after the rise in AAPL's prices.
บิมุรู้สึกดีขึ้นมากเมื่อราคาหุ้นบริษัท Apple ขึ้น (ขอให้มันขึ้นจริง ๆ ด้วยเถิด)

หวังว่าเพื่อน ๆ คงไม่ติดอยู่ใน The first villain นะครับ สวัสดีครับ

1 ความคิดเห็น:

De กล่าวว่า...

I am reading this book too.